ทีเกอร์ 1
ทีเกอร์ 1

ทีเกอร์ 1

ยานรบหุ้มเกราะที่ 6 "ทีเกอร์" (เยอรมัน: Panzerkampfwagen VI „Tiger“) หรือเรียกว่า ทีเกอร์ไอน์ (เยอรมัน: Tiger I) ฝ่ายสัมพันธมิตรเรียก ไทเกอร์วัน เป็นรถถังหนักของกองทัพบกเยอรมันซึ่งถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองยานเกราะทีเกอร์ไอน์ถูกสร้างในช่วงปลายปี ค.ศ. 1942 ในช่วงต้นปฏิบัติการบาร์บารอสซา เพื่อตอบโต้ยานเกราะที-34 และคลีเมนต์ โวโรชีลอฟของโซเวียต ยานเกราะทีเกอร์ไอน์ถือเป็นยานเกราะแบบแรกของกองทัพเยอรมันที่ติดตั้งกระบอกปืนขนาด 88 มม. โดยกระบอกปืนนี้ได้ถูกทดสอบมาก่อนว่ามีประสิทธิภาพสูงในการยิงต่อต้าน รถถัง และเครื่องบิน ทีเกอร์ไอน์ถูกนำไปใช้ในในการรบแนวหน้าของเยอรมันในช่วงสงคราม โดยปกติแล้วทีเกอร์ไอน์ถูกนำมาแยกเป็นหน่วยยานเกราะอิสระ ซึ่งทำให้หน่วยทีเกอร์ไอน์สามารถปฏิบัติการได้อย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพแม้ว่าทีเกอร์ไอน์เป็นที่น่าเกรงขามต่อศัตรูเป็นอย่างมากก็ตาม ทว่า ในขณะเดียวกัน ทีเกอร์ไอน์ก็เป็นยานเกราะที่มีลักษณะซับซ้อนในการสร้าง ต้นทุนสูง และใช้เวลาในการผลิตยาวนาน อีกทั้งทีเกอร์ไอน์มักจะประสบปัญหาเครื่องจักรกลติดขัดบ่อยครั้งจึงทำให้ยานเกราะชนิดนี้ถูกยกเลิกการผลิตไป มีเพียงจำนวน 1,347 คันเท่านั้นที่ถูกผลิตขึ้นมาระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึงสิงหาคม ค.ศ. 1944 กองทัพเยอรมันได้ผลิตยานเกราะทีเกอร์ซไวขึ้นมาแทนที่ยานเกราะนี้ถูกตั้งชื่อเล่นโดยแฟร์ดีนันท์ พอร์เชอ เดิมทีเรียกแต่เพียง "ทีเกอร์" เท่านั้น ต่อมาเมื่อมีการผลิตยานเกราะทีเกอร์ซไว จึงมีการเพิ่มตัวเลขโรมันไว้ด้านหลังชื่อเพื่อป้องกันความสับสน ยานเกราะทีเกอร์ไอน์มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ พันท์เซอร์คัมพฟ์วาเกิน เฟา เอาส์ฟือรุง ฮา (Panzerkampfwagen VI Ausführung H") แต่อย่างไรก็ตาม ยานเกราะนี้ได้ถูกนำมาออกแบบใหม่อีกครั้งเป็นรุ่นที่ดีขึ้น เรียกว่า เอาส์ฟือรุง เอ (Ausführung E) ในเดือนมีนาคม 1943 และมีลักษณะการออกแบบปืนใหญ่ของ SdKfz 181 เช่นเดียวกันในปัจจุบันนี้มีทีเกอร์ไอน์ไม่กี่คันเท่านั้นที่ยังคงเหลืออยู่ให้โดยถูกนำมาแสดงในพิพิธภัณฑ์และงานแสดงทั่วโลก ตัวอย่างของยานเกราะที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดคือพิพิธภัณฑ์ยานเกราะ Bovington ทีเกอร์ไอน์ 131 ซึ่งเป็นยานเกราะคันเดียวที่ยังคงสามารถใช้ได้อยู่ในปัจจุบันนี้

ทีเกอร์ 1

เครื่องยนต์ ไมบัค HL230 P45 V-12
700 PS (690 แรงม้า, 515 กิโลวัตต์)
น้ำหนัก 54 ตัน[3]
57 ตัน (แบบ E)[4] (น้ำหนักพร้อมรบ)[5]
เกราะ 25–120 mm (0.98–4.72 in)[6][7]
ความสูงจากพื้นรถ 0.47 เมตร
จำนวนที่ผลิต 1,347[lower-alpha 2]
ความกว้าง 3.56 เมตร
อาวุธหลัก ปืนใหญ่ 8.8 ซม. หนึ่งกระบอก
พร้อมกระสุนเจาะเกราะ
ความเร็ว 45.4 กม/ชั่วโมง (ความเร็วสูงสุด)[9]
20-25 กม/ชั่วโมง (ข้ามภูมิประเทศ)[4]
บริษัทผู้ผลิต Henschel
พิสัยปฏิบัติการ 195 กิโลเมตร (วิ่งถนน)[4]
110 กิโลเมตร (ข้ามภูมิประเทศ)[4]
ความยาว 6.316 เมตร (เฉพาะตัวถัง)
8.45 เมตร (รวมปืนใหญ่)
ประจำการ 1942–1945
ความสูง 3.00 เมตร
สงคราม สงครามโลกครั้งที่สอง
ลูกเรือ 5 นาย (ผู้บังคับ, พลปืน, พลบรรจุ, พลขับ, ผู้ช่วยพลขับ)
ช่วงการผลิต 1942–1944
กำลัง/น้ำหนัก 13 PS (9.5 กิโลวัตต์) / ตัน
กันสะเทือน เหล็กบิด (Torsion bar)
ชนิด รถถังหนัก
มูลค่า 250,800 ไรชส์มาร์ค[1][lower-alpha 1]
อาวุธรอง ปืนกล 7.92 มม สองกระบอก
ที่ 4,500 รอบ
ที่ 4,800 รอบ (แบบ E)[8]
สัญชาติ  ไรช์เยอรมัน